วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556
ภาพศาสนสถานภายในวัด
หน้าที่และการศึกษา
การศึกษา : น.ธ.
เอก, มัธยมศึกษาปีที่ ๖, พธ.บ.
ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์
ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์
ประสบการณ์การทำงาน : - พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นพระอาจารย์สอนศีลธรรมในโรงเรียน จนถึงปัจจุบัน
สังกัด : วัดบางปะกอก แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
หน้าที่ : -
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
- เป็นผู้ดูแลพระภิกษุผู้บวชใหม่ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ : พระยศวิน ธมฺมรโต
วัน/เดือน/ปีเกิด : ๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
สถานที่เกิด : บ้านเลขที่ ๓๐/๑๐๕ หมู่ที่
๑ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ประวัติหลวงปู่พริ้ง
ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ หรือ
หลวงปู่พริ้ง อินทโชติ เดิม ชื่อ "พริ้ง เอี่ยมทศ" บิดาชื่อ เอี่ยม
มารดาชื่อ สุ่น
เมื่อยังเล็ก หลวงปู่พริ้งได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดพลับ ธนบุรี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดทองนพคุณ ธนบุรี และดำรงสมณเพศตลอดมา โดยไม่ได้อยู่ในเพศฆราวาสเลย
ในสมัยยังเป็นสามเณร ท่านได้ศึกษาวิชาคาถาอาคม และสมาธิภาวนา สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน ในชั้นแรกท่านคงจะได้ศึกษากับพระอาจารย์ในวัดพลับ และได้แสวงหาครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในหลายสำนัก ว่ากันว่าท่านได้เคยเป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกันกับ หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า อีกด้วย ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยอุปสมบทและเคยใกล้ชิดกับหลวงพ่อพริ้ง เล่าว่าแม้วิชาล่องหนหายตัวและคงกระพันชาตรี ท่านก็เคยศึกษาและทำได้โดยไม่ยาก อาจกล่าวได้ว่า มีความชำนิชำนาญพอตัว ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณรแล้ว
เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เจริญอายุพรรษาพอสมควรแล้ว ได้มีผู้กราบนิมนต์มาจำพรรษาที่วัดบางปะกอก นัยว่าขอให้ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้
ในสมัยนั้น วัดบางปะกอกถือได้ว่าเป็นวัดที่เกือบมีสภาพร้าง มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่มากนัก แม้แต่เสนาสนะอื่นๆ รวมถึง อุโบสถหรือวิหาร ก็ชำรุดทรุดโทรมมาก เฉพาะตัวอุโบสถนั้น ก็เป็นอุโบสถแบบเก่า สร้างแบบโบกปูนปิดทึบ แบบโบสถ์มหาอุต เหมือนวัดเก่าๆในต่างจังหวัด
เมื่อยังเล็ก หลวงปู่พริ้งได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดพลับ ธนบุรี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดทองนพคุณ ธนบุรี และดำรงสมณเพศตลอดมา โดยไม่ได้อยู่ในเพศฆราวาสเลย
ในสมัยยังเป็นสามเณร ท่านได้ศึกษาวิชาคาถาอาคม และสมาธิภาวนา สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน ในชั้นแรกท่านคงจะได้ศึกษากับพระอาจารย์ในวัดพลับ และได้แสวงหาครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในหลายสำนัก ว่ากันว่าท่านได้เคยเป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกันกับ หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า อีกด้วย ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยอุปสมบทและเคยใกล้ชิดกับหลวงพ่อพริ้ง เล่าว่าแม้วิชาล่องหนหายตัวและคงกระพันชาตรี ท่านก็เคยศึกษาและทำได้โดยไม่ยาก อาจกล่าวได้ว่า มีความชำนิชำนาญพอตัว ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณรแล้ว
เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เจริญอายุพรรษาพอสมควรแล้ว ได้มีผู้กราบนิมนต์มาจำพรรษาที่วัดบางปะกอก นัยว่าขอให้ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้
ในสมัยนั้น วัดบางปะกอกถือได้ว่าเป็นวัดที่เกือบมีสภาพร้าง มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่มากนัก แม้แต่เสนาสนะอื่นๆ รวมถึง อุโบสถหรือวิหาร ก็ชำรุดทรุดโทรมมาก เฉพาะตัวอุโบสถนั้น ก็เป็นอุโบสถแบบเก่า สร้างแบบโบกปูนปิดทึบ แบบโบสถ์มหาอุต เหมือนวัดเก่าๆในต่างจังหวัด
ก่อนที่หลวงปู่พริ้งจะได้มาจำพรรษาและมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้
ในสมัยก่อน ตำบลบางปะกอก มีชื่อว่า "บางคี่" และในละแวกนี้ก็มีนักเลงอยู่มาก
มีเรื่องตีกันทะเลาะกันอยู่บ่อยๆ จนชาวบ้านที่จะมาทำบุญตักบาตรในวัด ก็ยังต้องพกมีดไม้พกอาวุธมาป้องกันตัวด้วย
แต่เมื่อหลวงปู่พริ้งได้มาจำพรรษาที่วัดบางปะกอก และได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว
เป็นที่น่าแปลกว่าบรรดานักเลงหัวไม้ที่เคยมีเรื่องกัน ต่างก็เกรงใจ ไม่กล้ามีเรื่องกัน
บางส่วนก็มาเป็นศิษย์ หรือไม่ก็หายหน้าหายตากันไป คงจะเป็นด้วยอำนาจบารมีธรรม
และวิทยาคุณ ประกอบกับความเป็นพระสุปฏิปันโนของหลวงปู่พริ้งนั่นเอง
ต่อมา หลวงปู่พริ้งก็ได้เริ่มการบูรณะและฟื้นฟูสภาพวัด มีการปฏิสังขรณ์โบสถ์ วิหาร และเสนาสนะต่างๆ ที่เป็นหลักฐานเด่นชัดก็คือ ตัววิหาร ซึ่งเป็นถาวรวัตถุ อยู่ข้างโรงอุโบสถในปัจจุบันนี้ มีข้อความจารึกไว้ว่า วิหารนี้สร้างขึ้นโดยหลวงปู่พริ้ง และบรรดาชาวบ้านมาร่วมบุญ บริจาคทรัพย์สร้างขึ้น และสร้างสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๘๔
ต่อมา หลวงปู่พริ้งก็ได้เริ่มการบูรณะและฟื้นฟูสภาพวัด มีการปฏิสังขรณ์โบสถ์ วิหาร และเสนาสนะต่างๆ ที่เป็นหลักฐานเด่นชัดก็คือ ตัววิหาร ซึ่งเป็นถาวรวัตถุ อยู่ข้างโรงอุโบสถในปัจจุบันนี้ มีข้อความจารึกไว้ว่า วิหารนี้สร้างขึ้นโดยหลวงปู่พริ้ง และบรรดาชาวบ้านมาร่วมบุญ บริจาคทรัพย์สร้างขึ้น และสร้างสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๘๔
ในวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙ หลวงปู่พริ้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ให้ท่านดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ พระครูประศาสน์สิกขกิจ
นำความปีติยินดีมาสู่หมู่ศิษยานุศิษย์
ซึ่งเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา จริยาวัตร และวิทยาคุณของท่าน
ทั้งที่เป็นประชาชนทั่วไป และ ที่เป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ที่ถือได้ว่าทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูประศาสน์สิกขกิจมาก
ก็คือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่า
ทรงเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือ ได้ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในหลวงปู่พริ้งมาก
แม้แต่พระโอรส ก็ทรงให้มาผนวชเป็นสามเณร ดังปรากฏว่า ทรงนำพระโอรส ๓ พระองค์
มาผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบางปะกอก คือ
๑.
พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (ท่านน่วม) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
๒. เรือเอก หม่อมเจ้าชายสมรบำเทอง (ท่านขรัว)
๓. หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ (ท่านบ๊วย)
๒. เรือเอก หม่อมเจ้าชายสมรบำเทอง (ท่านขรัว)
๓. หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ (ท่านบ๊วย)
นอกจากพระโอรสจะทรงมาผนวชเป็นสามเณร ที่วัดแล้ว
เสด็จในกรมฯ และพระธิดา คือหม่อมเจ้าหญิง เริงจิตแจรง พร้อมด้วยข้าราชบริพาร
ได้มาถือศีลประจำอยู่ที่วัดนี้จนพระโอรสทรงลาสิกขา
ความที่พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงปู่พริ้ง) เป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณธรรม ทั้งที่ดำรงปฏิปทามั่นคงในศีลาจารวัตร และทรงวิทยาคุณในหลายๆด้าน จึงทำให้เสด็จในกรมฯ ทรงมีศรัทธาในหลวงปู่เป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่า ทรงถือเป็นพระอาจารย์ เทียบได้กับหลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่าเลยทีเดียว
ความที่พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงปู่พริ้ง) เป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณธรรม ทั้งที่ดำรงปฏิปทามั่นคงในศีลาจารวัตร และทรงวิทยาคุณในหลายๆด้าน จึงทำให้เสด็จในกรมฯ ทรงมีศรัทธาในหลวงปู่เป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่า ทรงถือเป็นพระอาจารย์ เทียบได้กับหลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่าเลยทีเดียว
นอกจากเสด็จในกรมฯ จะทรงมีศรัทธาในหลวงปู่พริ้งแล้ว
ยังมีปรากฏว่า พระชายาของกรมหลวงลพบุรีราเมศร์[1]
คือ พระเจ้า
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล[2] และพระโอรส ก็ทรงเคยไปมากราบนมัสการหลวงปู่พริ้งเป็นประจำ และอดีตนายก รัฐมนตรีท่านหนึ่ง ก็เคยเป็นศิษย์ของท่าน
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล[2] และพระโอรส ก็ทรงเคยไปมากราบนมัสการหลวงปู่พริ้งเป็นประจำ และอดีตนายก รัฐมนตรีท่านหนึ่ง ก็เคยเป็นศิษย์ของท่าน
ความที่หลวงปู่พริ้งมีวิทยาคุณ
และปฏิปทาจริยาวัตรที่งดงามเช่นนี้ จึงมีผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส
ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นจำนานมาก พระเถราจารย์หลายๆรูปที่ขึ้นชื่อในทางว่าทรงวิทยาคุณ
บางรูปก็เคยเป็นศิษย์ของหลวงปู่พริ้ง เช่น
๑.
หลวงพ่อพระร่วง แห่งวัดยางสุทธาราม บางกอกน้อย ธนบุรี
๒. พระอาจารย์รูปหนึ่ง แห่ง ถ้ำคูหาทอง จังหวัดลพบุรี
๓. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา
๒. พระอาจารย์รูปหนึ่ง แห่ง ถ้ำคูหาทอง จังหวัดลพบุรี
๓. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา
เฉพาะหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคนั้น มีเรื่องเล่าที่ถ่ายทอดกันมาว่า
ผู้ที่ทราบว่า หลวงพ่อปานเป็นศิษย์ของหลวงปู่พริ้ง ก็คือพระที่วัดบางปะกอกนี่เอง
คือ พระภิกษุจำรัส ประสารเกตุ (พี่ชายของนายแจ่ม ประสารเกตุ คนเก่าแก่ ในตำบล
บางปะกอก) โดยเรื่องนี้ พระภิกษุเชื้อ วิสุทฺธสีโล วัดบางปะกอก ได้เล่าว่า
เมื่อสมัยยังเด็ก อายุได้ ๑๒-๑๓ ปี ได้ติดตามพระจำรัส ไปหาหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
เพื่อขอของดีจากท่าน เมื่อไปถึงแล้ว
หลวงพ่อปานได้สอบถามว่า มาทำไม แล้วมาจากวัดไหน
พระจำรัสตอบว่า "มาจากวัดบางปะกอก จะมาขอของดีจากหลวงพ่อ"
หลวงพ่อปานจึงบอกว่า
"อยู่ที่วัดบางปะกอกก็มีของอาจารย์ฉันอยู่แล้ว จะมาเอาของฉันทำไมอีก
ของหลวงพ่อพริ้งไงล่ะ" แล้วหลวงพ่อปานท่านจึงมอบพระเครื่องมาให้ ๕ องค์
พร้อมกับฝากมาถวายหลวงปู่พริ้งอีกจำนวนหนึ่งด้วย
เมื่อกลับมาถึงวัดก็สงสัยว่า ทำไมหลวงพ่อปานถึงบอกว่าเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่
เราอยู่มานานทำไมไม่เคยเห็นท่าน
จึงได้ไปนมัสการเรียนถามหลวงปู่ หลวงปู่จึงตอบให้ด้วยความเมตตาว่า "เขาไม่ได้เป็นลูกศิษย์แบบเอ็งนี่
เขามาเรียนกับข้าเพียงคืนเดียวเท่านั้น"
เมื่อนมัสการเรียนถามท่านจึงได้ความว่า
หลวงพ่อปาน ขณะนั้นอายุมากกว่าหลวงปู่ ได้มาขอเรียนวิปัสสนาธุระ หลวงปู่พริ้งจึงได้สอนให้
ผ่านไปเพียงคืนเดียวเท่านั้นหลวงพ่อปานก็เรียนได้สำเร็จ หลวงปู่พริ้งจึงบอกว่า "เอาละ
ท่านเรียนสำเร็จแล้ว"
นอกจากปฏิปทาจริยาวัตรของท่าน
ซึ่งทำให้เห็นประจักษ์ ทั้งจากวิถีชีวิตที่ดีงาม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมของท่าน
จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของมหาชนคนทั่วไปแล้ว ความที่ท่านเป็นผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ
จึงปรากฏว่ามีเครื่องรางของขลัง ที่ท่านเป็นผู้สร้างไว้ เป็นจำนวนหลายรุ่น
ซึ่งล้วนแล้วแต่ทรงอำนาจทางคุณวิเศษ ทั้งในด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี
ซึ่งท่านได้สร้างไว้ให้เป็นเครื่องคุ้มครองภยันตรายแก่ศิษยานุศิษย์
และเป็นเครื่องย้ำเตือนให้รำลึกนึกถึงคุณงามความดี และนึกถึงองค์หลวงปู่พริ้ง
เพื่อเป็นเครื่องย้ำให้ประพฤติตนในศีลในธรรม
เพราะความที่หลวงปู่พริ้งทรงวิทยาคุณ
และปฏิปทาจริยาวัตรอย่างนี้เอง จึงทำให้เมื่อมีการทำปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังตามวัดต่างๆ
ต้องมากราบอาราธนานิมนต์หลวงปู่พริ้งไปร่วมนั่งปรกในพิธีด้วย เช่น
พิธีปลุกเสกที่จัดขึ้นในวัดราชบพิธ และวัดสุทัศน์เทพวราราม เฉพาะที่วัดสุทัศน์นี้
เมื่อมีการทำพิธีปลุกเสกครั้งใดๆ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์
ทรงให้มีพิธีขึ้น หลวงปู่พริ้งจะได้รับการนิมนต์มานั่งปรก ทุกครั้ง และมีเรื่องเล่าลือกันว่า สมเด็จพระสังฆราช
(แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงศรัทธาเลื่อมใสในหลวงปู่พริ้ง แม้แต่เวลาที่เสด็จมาหา
สมเด็จฯ จะทรงกราบหลวงปู่พริ้งก่อนทุกครั้ง
แม้แต่เวลาที่จะมีงานเจริญพระพุทธมนต์หรือฉันภัตตาหารที่ใด
ถ้ามีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ระดับเจ้าคุณอยู่ในพิธีด้วย หากทราบว่า
"มีพระครูประศาสน์สิกขกิจ เจ้าอาวาสวัดบางปะกอก ในพิธีด้วย"
ท่านเจ้าคุณในพิธีนั้นๆ ก็จะต้องเว้นอาสนะเหนือกว่าไว้ให้หลวงปู่พริ้งนั่ง แทบทุกแห่งไป
คงเพราะความศรัทธาเลื่อมใสและเกรงในบารมีธรรม สัมมาปฏิบัติของหลวงปู่พริ้ง
แม้ท่านจะมีสมณศักดิ์ระดับพระครูสัญญาบัตรก็ตาม
เรื่องนี้เป็นที่กล่าวขานกันสืบมาจนทุกวันนี้
นอกจากในด้านคาถาอาคมขลัง
และเครื่องรางต่างๆ แล้ว ท่านยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เพราะความมีเมตตาธรรม
และดำเนินตามพระพุทธดำรัสที่ว่า "เพื่อประโยชน์สุขแก่หมู่ชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก"
โดยเฉพาะหลวงปู่พริ้งได้เห็นประโยชน์ในการให้การศึกษาแก่เยาวชน ลูกหลาน โดยการอุปการะโรงเรียนวัดบางปะกอก
ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวชนในชุมชน ตั้งแต่สมัยที่นักเรียนต้องอาศัยศาลาวัด
ในการเรียน ในการศึกษา จนพัฒนามามีอาคารไม้ ๒ ชั้น ต่อมารัฐบาลจึงได้สนับสนุนในการพัฒนาให้เป็นอาคารไม้
๒ ชั้น ถึง ๖ อาคาร (และพัฒนามาเป็นอาคารสถานที่อีกหลายๆส่วน
ในปัจจุบันนี้) ถ้าหากไม่มีการริเริ่มขึ้นโดยหลวงปู่พริ้ง สิ่งเหล่านี้ก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
นอกจากโรงเรียนประชาบาล วัดบางปะกอก
อย่างที่เห็นนี้แล้ว ท่านได้ดำริจะให้มีโรงเรียนมัธยมแบบผสม (ที่เรียกกันว่า
สหศึกษา) เพื่อให้เด็กๆสามารถเรียนในระดับชั้นสูงๆขึ้นไปโดยไม่ต้องไปศึกษาไกลบ้าน แม้ว่าความดำริของท่าน จะไม่สามารถสำเร็จขึ้นได้ในยุคของท่าน
เพราะท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเสียก่อน แต่หลังจากท่านละสังขารไปแล้ว
บรรดาคหบดีชาวบางปะกอก ก็ได้สานความตั้งใจของหลวงปู่ให้สำเร็จขึ้น โดยมี นายล้อม
ฟักอุดม ร่วมกับ นายนคร มังคะลี , นายถนอม เอี่ยมทศ และประชาชนทั่วไป
ได้จัดซื้อที่ดิน ถวายวัดบางปะกอก
และขออนุญาตสร้างโรงเรียนมัธยมขึ้น ได้ชื่อว่า
"โรงเรียนมัธยมวัดบางปะกอก" เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๔ (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น
โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม)
กล่าวได้ว่า
โรงเรียนทั้งสองโรงเรียนนี้ เกิดขึ้นโดยกุศลเจตนาและเมตตาธรรมของหลวงปู่พริ้ง
และเป็นประโยชน์แก่เยาวชนในการศึกษาเล่าเรียน
เป็นจุดที่ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่งดงาม ระหว่าง บ้าน, วัด, โรงเรียน ที่เรียกกันเป็นชื่อย่อได้ว่า บวร
อันมีความหมายเดียวกับ ปวร (ปะวะระ) ในภาษาบาลี ที่แปลว่า ความประเสริฐ
จะเห็นได้ว่า หลวงปู่พริ้ง หรือ
พระครูประศาสน์สิกขกิจ
ท่านไม่ได้เป็นเพียงพระมหาเถระผู้ทรงวิทยาคุณแต่เพียงเท่านั้น
ท่านยังเป็นผู้ประพฤติตามรอยพระยุคลบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ
กระทำการอนุเคราะห์แก่โลก แก่สังคม ในด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน
เป็นจุดเริ่มต้นเกิดโรงเรียนขึ้นมาได้ ยังไม่รวมถึงความเมตตาธรรมที่ท่านมีต่อญาติโยม
พุทธศาสนิกชน ในละแวก
วัดบางปะกอก และประชาชนทั่วไปที่รู้จักชื่อรู้จักนามของท่าน ทำให้เกียรติประวัติของท่าน ยังคงดำรงอยู่ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าใดก็ตาม จึงเป็นเหตุให้ มีการสร้างรูปหล่อหลวงปู่พริ้ง และสร้างศาลาหลวงปู่พริ้ง หรือ ศาลาอินทโชตานุสรณ์ขึ้น เพื่อประดิษฐานรูปหล่อของท่านไว้ เป็นที่สักการะบูชา นึกถึงความดีงามของท่าน ไปนานเท่านาน
วัดบางปะกอก และประชาชนทั่วไปที่รู้จักชื่อรู้จักนามของท่าน ทำให้เกียรติประวัติของท่าน ยังคงดำรงอยู่ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าใดก็ตาม จึงเป็นเหตุให้ มีการสร้างรูปหล่อหลวงปู่พริ้ง และสร้างศาลาหลวงปู่พริ้ง หรือ ศาลาอินทโชตานุสรณ์ขึ้น เพื่อประดิษฐานรูปหล่อของท่านไว้ เป็นที่สักการะบูชา นึกถึงความดีงามของท่าน ไปนานเท่านาน
[1]
พระนามเต็ม
คือ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ทรงเป็นพระโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ
พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ประวัติวัดบางปะกอก
ที่อยู่และพื้นที่วัด
ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๓๔ ซอยสุขสวัสดิ์ ๑๙ ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ ๑๐๑๔๐ มีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา
ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๓๔ ซอยสุขสวัสดิ์ ๑๙ ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ ๑๐๑๔๐ มีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดบางปะกอก เป็นวัดโบราณที่สร้างมานานในสมัยอยุธยา แต่ได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อคราวกรุงแตก พม่าได้มาอาศัยหลบซ่อนอยู่ ครั้นก่อนจากไปก็ได้เผาวัด ทำให้มีสภาพทรุดโทรมมาก เมื่อบ้านเมืองว่างเว้นจากภัยสงคราม ก็เริ่มมีประชาชนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น แทบจะเรียกว่าสร้างใหม่ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕ (สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นลำดับมา
วัดบางปะกอก เป็นวัดโบราณที่สร้างมานานในสมัยอยุธยา แต่ได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อคราวกรุงแตก พม่าได้มาอาศัยหลบซ่อนอยู่ ครั้นก่อนจากไปก็ได้เผาวัด ทำให้มีสภาพทรุดโทรมมาก เมื่อบ้านเมืองว่างเว้นจากภัยสงคราม ก็เริ่มมีประชาชนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น แทบจะเรียกว่าสร้างใหม่ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕ (สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นลำดับมา
เสนาสนะภายในวัด
อุโบสถ : กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างครั้งแรก ประมาณ ๒๓๒๕ . มีการบูรณะเมื่อ ๒๔๖๐ และมีการบูรณะครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
ศาลาการเปรียญ : กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ๒ ชั้น
ศาลาอินทโชตานุสรณ์ ศาลาทรงไทย ประดิษฐาน รูปหล่อพระครูประศาสน์สิกขกิจ ในท่านั่งขัดสมาธิ เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของคนทั่วไป
กุฏิสงฆ์ แบ่งเป็นกุฏิไม้ ๑๖ หลัง ที่บริเวณติดอุโบสถ, กุฏิปูน ๒ หลัง, กุฏิด้านบนและล่างของหอสวดมนต์ และกุฏิด้านติดหอระฆัง อีก ๑ หลัง
วิหาร กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๒.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก ตั้งอยู่ข้างอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยพระครูประศาสน์สิกขกิจ และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา
อุโบสถ : กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างครั้งแรก ประมาณ ๒๓๒๕ . มีการบูรณะเมื่อ ๒๔๖๐ และมีการบูรณะครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
ศาลาการเปรียญ : กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ๒ ชั้น
ศาลาอินทโชตานุสรณ์ ศาลาทรงไทย ประดิษฐาน รูปหล่อพระครูประศาสน์สิกขกิจ ในท่านั่งขัดสมาธิ เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของคนทั่วไป
กุฏิสงฆ์ แบ่งเป็นกุฏิไม้ ๑๖ หลัง ที่บริเวณติดอุโบสถ, กุฏิปูน ๒ หลัง, กุฏิด้านบนและล่างของหอสวดมนต์ และกุฏิด้านติดหอระฆัง อีก ๑ หลัง
วิหาร กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๒.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก ตั้งอยู่ข้างอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยพระครูประศาสน์สิกขกิจ และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา
ศาลาปรุง
รุ่งเรือง เป็นศาลาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงวัด สร้างโดยตระกูลรุ่งเรือง
นอกจากนั้น ยังมี ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑๑ ศาลา ฌาปนสถาน
หอระฆัง และอื่นๆอีก
นอกจากนั้น ยังมี ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑๑ ศาลา ฌาปนสถาน
หอระฆัง และอื่นๆอีก
ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำพระอุโบสถ,
พระประธานประจำหอสวดมนต์, และรูปหล่อพระครูประศาสน์สิกขกิจ ในท่านั่งเก้าอี้
รายนามเจ้าอาวาสในอดีต และปัจจุบัน เท่าที่ทราบนาม
รูปที่ ๑ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงปู่พริ้ง)พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๘๔
รูปที่ ๒ พระมหาถาวร (รักษาการ) พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๖
รูปที่ ๓ พระครูโอภาสศีลคุณ (อาจารย์ละมัย) พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๑๕
รูปที่ ๔ พระครูพิบูลย์ชัยวัฒน์ (อาจารย์แนบ) พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๔๓
รูปที่ ๕ พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (อาจารย์เจือ) พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๒
รูปที่ ๖ พระครูธรรมธร สกล สุกุโล พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน
รูปที่ ๑ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงปู่พริ้ง)พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๘๔
รูปที่ ๒ พระมหาถาวร (รักษาการ) พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๖
รูปที่ ๓ พระครูโอภาสศีลคุณ (อาจารย์ละมัย) พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๑๕
รูปที่ ๔ พระครูพิบูลย์ชัยวัฒน์ (อาจารย์แนบ) พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๔๓
รูปที่ ๕ พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (อาจารย์เจือ) พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๒
รูปที่ ๖ พระครูธรรมธร สกล สุกุโล พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)